ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่วรรณคดีไทย

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



วรรณคดีไทย



ความหมายโดยทั่วไป 
            วรรณคดีหรือวรรณกรรมเป็นงาน ศิลปะ รูปแบบหนึ่งซึ่งมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อบำรุงจิตใจให้ร่าเริงแช่มชื่น และเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดเมื่อมีอะไรมากระทบใจ 
         วรรณคดี เป็นศัพท์ที่หมายถึง “ งานหนังสือ  แต่มักใช้กันอย่างมีนัยของการประเมินค่าว่า “ แต่งดี ” อยู่ด้วย วรรณคดีมีคำแปลตามศัพท์ว่า“ เรื่องราว ” ( คดี) ที่สื่อด้วยตัวหนังสือ เสียง และถ้อยคำ (วรรณ)
             คำว่า วรรณคดี ปรากฏในหนังสือไทยเป็นครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2457 แต่มิได้กำหนดว่าวรรณคดีคืออะไร เพียงแต่กำหนดหนังสือ 5 ประเภท คือ กวีนิพนธ์ ละครไทย นิทาน ละครพูด และอธิบาย ( essay) เป็นหนังสือที่ควรพิจารณาได้รับการยกย่อง หนังสือใดจะเป็นหนังสือดีต้องมีคุณลักษณ์ ดังนี้
- เป็นเรื่องที่ดี สาธารณชนอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์
- ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใดก็ตาม แต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี
พระยาอนุมานราชธน อธิบายเพิ่มเติมว่า
            “ หนังสือที่แต่งขึ้นและเขียนตีพิมพ์เป็นเรื่องแล้ว ย่อมเรียกได้ว่าเป็นวรรณคดี แต่หนังสือที่วรรณคดีสโมสรยกย่องสมควรได้รับประโยชน์ คือหนังสือที่มีลักษณะตาม  ที่กำหนดเงื่อนไขไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้น ส่วนหนังสืออื่นๆ ซึ่งไม่เข้าอยู่ในข่ายแห่งข้อความในพระราชกฤษฎีกา  ก็ต้องถือว่าเป็นวรรณคดีด้วยเหมือนกัน ” ( การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์)

วรรณคดีสามารถแบ่งเป็น  ๕  ประเภทคือ             

         ๑.กวีนิพนธ์ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน
         ๒.ละครไทย คือ เรื่องที่แต่งเป็นกลอนแปด
         ๓.นิทาน คือ เรื่องราวอันผูกขึ้นและแต่งเป็นร้อยแก้ว เช่น เรื่องสามก๊กของเจ้าพระยาคลัง
         ๔.ละครพูด คือเรื่องราวที่เขียนขึ้นสำหรับใช้แสดงบนเวที
         ๕.อธิบาย คือ การแสดงด้วยศิลปะวิทยาหรือกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง(แต่ไม่ใช่แบบเรียนหรือความเรียงเรื่องโบราณคดี )
ตัวอย่างวรรณคดีไทย
        ๑.รามเกียรติ์                                                         
        ๒.ไกรทอง
        ๓.ขุนช้างขุนแผน
        ๔.จินดามณี     
        ๕.ท้าวแสนปม



มหาชาติคำหลวง หรือ มหาเวสสันดรชาดก
เดิมเป็นภาษามคธหนึ่งพันคาถา แปลเป็นไทยมาแต่กรุงสุโขทัย เป็นหลักของหนังสือไทยเรื่องหนึ่ง สำคัญกว่าชาดกอื่นๆ ด้วยปรากฎบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ทั้ง ๑๐ อย่าง ยาว ๑๓ กัณฑ์ สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิตในกรุงศรีอยุธยา ร่วมกันแปลแต่งมหาชาติขึ้นโดยวิธีตั้งสลับภาษามคธบาทหนึ่ง แปลเป็นไทยวรรคหนึ่ง เป็นฉันท์บ้าง โคลงบ้าง เพื่อความไพเราะและใกล้เคียงภาษาเดิม จึงเป็นหนังสือซึ่งนับถือว่า แต่งดีมาแต่ครั้งกรุงเก่า









ลิลิตพระลอ
พระลอเป็นนิยายถิ่นไทยทางภาคเหนือ มีเค้าโครงเรื่องว่าเกิดในแคว้นลานนา แต่งเป็นคำประพันธ์ชนิดลิลิต (ใช้โคลงและร่ายคละกันไป) มีข้อความกระทัดรัด ไพเราะ รักษาข้อบังคับ ฉันทลักษณ์เคร่งครัด วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของวรรณคดีประเภทลิลิต ทั้งเนื้อเรื่อง กระบวนร้อยกรอง และภาษาที่ใช้ เป็นครูด้านแบบฉบับของลิลิตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมา เป็นวรรณคดีบริสุทธิ์ตรงที่ว่า ได้พรรณนาความรักทุกประเภทอันมนุษย์จะพึงมีไว้









สังข์ทอง
เป็นนิทานในคัมภีร์ปัญญาสชาดกเรียก สุวัณณสังขชาดก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อทรงพระราชทานนิพนธ์บทละครเรื่องสังข์ทอง คงได้เลือกบทละครครั้งกรุงเก่ามาเป็นโครง เพราะมีกลอนเดิมหลายแห่งที่ทรงโปรด จนเอามาใช้ในพระราชนิพนธ์ ซึ่งกลอนเดิมน ี้คงจะเป็นของนับถือ และนิยมกันว่าแต่งเป็นอย่างดี ในครั้งกรุงศรีอยุธยาด้วย









กากี
มีเค้าจากเรื่องกากาติชาดกในนิบาตชาดก บทมโหรีมีเนื้อร้องเหมือนกับที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (กุ้ง) นิพนธ์ขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแบบ "กาพย์ห่อโคลง" ส่วนในฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งเป็นคำกลอนเพื่อใช้เป็นบทร้องส่งมโหรี ได้แต่งเรื่องนี้ในแผ่นดิน ที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บทกลอนในเรื่องอันเป็นสำนวนที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเยี่ยมในด้านการแต่งบทร้อง เนื้อความมีหลายรส สามารถชักจูงใจผู้ฟัง มีทั้งหมด ๘๐ คำกลอน แต่งไปจบเพียงตอนนางกากีถูกลอยแพ









มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์
เป็นนิทานชาดก ในตำรามหาวัสดุของอินเดียโบราณฝ่ายมหายาน เรื่องสุธนชาดก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระสุธนคำฉันท์ ส่วนบทละครเรื่องมโนห์รา เห็นได้ว่าไม่เป็นกลอนแปดแท้ เช่นบทละครสามัญแต่ปนกาพย์ ทำนองกลอ นเป็นอย่างที่ละครมโนห์ราใช้กันอยู่ทางปักษ์ใต้ สันนิษฐานว่าบทละครมโนห์ราเป็นบทละครชิ้นแรกในกรุงเก่า









พระอภัยมณี
พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง หรือสุนทรภู่ แต่งเป็นประเภทกลอนแปด เป็นภาษาเขียนในบทกวีที่อ่านแล้วสนุก มีคติเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะต่อเนื้อหาของเรื่อง เป็นนักกวีที่เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์และภาษาศาสตร์ ใช้ถ้อยคำและสำนวน โวหารได้ฉับพลัน องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องเกียรติคุณ ในฐานะบุคคลดีเด่นของโลกในสาขาวัฒนธรรม









เงาะป่า
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทละครที่นับเป็นการริเริ่มในด้านวรรณคดีอีกแนวหนึ่ง เรื่องและฉากเหตุการณ์แปลกออกไป เป็นบทละครรูปแบบไทยโบราณ เค้าโครงเป็นโศกนาฏกรรม แสดงขนบธรรมเนียม ชีวิตการต่อสู้ การทำมาหากิน และแทรกภาษาขอ ง "เงาะ" ไว้ด้วยสำนวนกลอนไพเราะ บทพรรณนางดงาม มีคติชีวิตคมคาย









มัทนะพาธา หรือ ตำนานแห่งดอกกุหลาบ
ละครพูดคำฉันท์ ๕ องค์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นหนังสือแต่งดีเพราะทรงพระราชดำริใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ซึ่งเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดี และแต่งได้โดยยากในทางภาษา ทรงคิดเค้าโครงเรื่องด้ วยพระองค์เอง จึงนับว่าเป็นจินตนิยาย









สาวิตรี
พระราชนิพนธ์บทละครร้อง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องมีในคัมภีร์มหาภารต อันเป็นมหากาพย์ภาษาสันสกฤตเรื่องหนึ่งของอินเดีย (คู่กับคัมภีร์รามายณ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์) เป็นเรื่องแสดงถึงอำนาจแห่งความรัก และความภักดีอั นยิ่งใหญ่ที่ภริยามีต่อสามี ได้ทรงพระราชนิพนธ์โดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ









สกุนตลา
เป็นเรื่องเกร็ดอันหนึ่งในมหาภารตเรียกว่า ศกุต์โลปาข์ยาณ ถูกแปลไปหลายภาษา การแปลแต่งเป็นไทยนี้ เพื่อให้เหมาะแก่การที่จะเล่นเป็นบทละครรำสำนวนหนึ่ง และบทละครร้องหรือบทละครดึกดำบรรพ์อีกสำนวนหนึ่ง โดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของเซอร์วิลเลี่ยม โ ยนส์ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้ นับเป็นช่วงระยะเวลาที่ภาษาเขียนได้เจริญสูงสุด ปรากฎบทพระราชนิพนธ์ในพระองค์มากกว่า ๒๐๐ เรื่อง









กนกนคร
นิทานในหนังสือสันสกฤตชื่อ กถาสริตสาครเรื่องเมืองทอง พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงนิพนธ์เป็นนิทานคำกลอนประเภทกลอนหกล้วนๆ สร้างระเบียบบังคับกลอนแนวใหม่ ซึ่งทรงริเริ่มขึ้นทั้งด้านสำนวนโวหาร ถ้อยคำ ใช้คำง่ายๆ แต่มีข้อความไพเราะ เนื้อเรื ่องให้ความเพลิดเพลิน ให้ความรู้ศัพท์แปลก ๆ สูง ๆ ถ้อยคำที่นำมาใช้อย่างตั้งใจว่า ต้องเป็นคำที่ได้น้ำหนักกันอย่างดี มีความหมาย ทรงพระนิพนธ์จบลงโดยอาศัยฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งกล่าวว่าแปลจากสมุดสันสกฤต ชื่อ ตริวิกรมาโธคาศรีระ









กามนิต - วาสิฎฐี
เป็นนิยายอิงศาสนาพุทธทางลัทธิมหายาน ดำเนินเรื่องอาศัยพุทธประวัติ และหลักธรรม ตลอดจนเรื่องราวในพระสูตรต่างๆ เป็นโครง แทรกลัทธิศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีอินเดีย แต่งโดยนักเขียนชาวเดนมาร์ก เสฐียรโกเศศและนาคะประทีปแปลแต่งเป็นหนังสือนวนิยาย ร้อยแก้ว มีสำนวนโวหารไพเราะ จังหวะลีลาในการประพันธ์เหมาะสมแก่เหตุการณ์ และบรรยากาศของเรื่อง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น